แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนกีฬาพื้นเมืองไทย : ในการพัฒนาพื้นฐานนักกีฬาไทยสู่ความเป็นเลิศ [printed text] /
อารยา ถาวรสวัสดิ์, Author . -
[S.l.] : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2555 . - 319 หน้า. : ภาพประกอบสี. ; 29 cm.
บริจาค.
Languages : Thai (
tha)
Descriptors: | [LCSH]Sport -- Thailand [LCSH]การละเล่น -- ไทย [LCSH]กีฬา -- ไทย [LCSH]กีฬาพื้นเมือง -- ไทย
|
Keywords: | กีฬาพื้นเมือง.
กีฬาพื้นบ้าน.
วิจัย |
Class number: | GV663 .T53 อ653 2555 |
Abstract: | วัตถุประสงค์การศึกษาคือ การส่งเสริมให้นักเรียนในโรงเรียนทั้ง 4 ภาค ได้รู้จักวิธีการเล่นกีฬาพื้นเมืองไทย และโรงเรียนยังสามารถนำคุณค่า และประโยชน์จากการเล่นกีฬาพื้นเมืองไทยไปใช้พัฒนาทักษะและสมรรถนะพื้นฐานการเล่นกีฬาในโรงเรียน โดยใช้การศึกษา 3 วิธี คือ
1. การวิจัยเชิงสำรวจจากโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง 4 ภาค ในประเทศไทยภาคละ 100 โรงเรียน รวม 400 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม
2. การวิจัยกึ่งทดลองด้วยเทคนิคสังเกตพฤติกรรม โดยใช้แบบวิเคราะห์คุณค่าที่ได้รับจากการเล่นออกกำลัีงกายด้วยกีฬาพื้นเมืองไทย การประมวลข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย
3. การวิจัยเชิงทดลองคณะผู้วิจัยสร้างโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยกีฬาพื้นเมืองไทย 5 โปรแกรม.
ผลการศึกษาสรุปได้ 8 ประการ
1. โรงเรียนตัวอย่างทั้ง 4 ภาค ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักวิธีการเล่น และให้เล่นกีฬาพื้นเมืองไทยในแต่ละภาคใน 3 โอกาส
2. โรงเรียนตัวอย่างทั้ง 4 ภาค ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักกีฬาพื้นเมืองไทย โดยการให้ครูผู้สอนวิชาพลศึกษาสอนในชั่วโมง
3. กีฬาพื้นเมืองไทยทั้ง 4 ภาค ให้คุณค่าทางด้านสังคมมากที่สุด ด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและอารมาณ์ รองลงมาตามลำดับ
4. กีฬาพื้นเมืองไทยช่วยพัฒนาสมรรถนะและทักษะพื้นฐานของนักกีฬาของโรงเรียน ไปสู่การเล่นกีฬาสากลทั้ง 18 ชนิด
5. ปัญหาการนำกีฬาพื้นเมืองไทยไปพััฒนาทักษะสมถรรนะ การเล่นกีฬาสากลของโรงเรียน คือ ขาดงบประมาณ ขาดอุปกรณ์ ขาดคู่มือการเล่นกีฬาพื้นเมืองไทย
6. โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยกีฬาพื้นเมืองไทยทั้ง 4 ภาค ส่งผลให้นักเรียนได้รับคุณค่าทางด้านจิตใจ อารมณ์ สติปัญยา และสังคม ในระดับมากทุกด้าน
7. คุณค่าด้านทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานของกีฬาพื้นเมืองไทย แต่าละชนิดทั้ง 4 ภาค ที่สามารถถ่ายโยงไปใช้เล่นกีฬาสากล ได้แก่ การเตะ การตบ การตี แการขว้าง และการปา อยู่ในระดับน้อย และเกือบน้อย
8. ผลการศึกษาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยกีฬาพื้นเมืองไทยทั้ง 4 ภาค ต่อสมรรถภาพทางกายของเด็กไทย สุขสมรรถนะของเด็กไทย รวมทั้งความฉลาดด้านต่าง ๆ ของเด็กไทย ได้แก่ ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ ด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาน หรือความฉลาดทางการเล่น พบว่า นักเรียนกลุ่มเข้าร่วมโปรแกรม มีสมรรถะภาพทางกาย สุขสมรรถนะ และความฉลาดด้านสติปัญญา อารมร์ และด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือความฉลาดทางด้านการเล่นดีขึ้นอย่างชัดเจน
|
Curricular : | GE |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=23942 |