การบริการของโรงพยาบาลตามกรอบกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการ = Hospital services based on service marketing mix strategies as perceived by clients governmental and private hospitals Banglok metropolis : ตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลรัฐและเอกชน กรุงเทพมหานคร [printed text] /
สมบูณ ขัตติยะสุวงศ์, Author . -
กรุงเทพฯ : คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 . - ก-ฎ,134 แผ่น. : ตารางประกอบ ; 30 ซม.
ISSN : 978-974-130-979-1 : บริจาค.
วิทยานิพนธ์. (พย.ม (การบริหารการพยาบาล)).-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Languages : Thai (
tha)
Descriptors: | [LCSH]การตลาด [LCSH]อุตสาหกรรมบริการ -- การตลาด [LCSH]โรงพยาบาล -- การบริหาร [LCSH]โรงพยาบาล -- การรับรองคุณภาพ
|
Keywords: | การบริหารโรงพยาบาล.
การตลาด.
การบริการ. |
Class number: | WX150 ส865 2543 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบการบริการของโรงพยาบาลตามกรอบกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการ ตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการระหว่างโรงพยาบาลรัฐบาล โรงพยาบาลเอกชนที่ดำเนินการในรูปบริษัท และโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นขององค์กรศาสนา หรือมูลนิธิ 2. เปรียบเทียบการบริการของโรงพยาบาลตามกรอบกลุยทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการ ตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการระหว่างโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองคุณภาพ (HA) กับโรงพยาบาลที่ยังไม่ได้รับการรับรองคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการจำนวน 368 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบการบริการตามกรอบกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและทดสอบความเที่ยว .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบความแปรปรวนทางเดียวและสถิติทดสอบ เชพเฟ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ค่าเฉลี่ยบริการของโรงพยาบาลตามกรอบกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการ ตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านผลิตภัณฑ์บริการ บุคลากร ลักษณะทางกายภาพ และกระบวนการ อยู่ในระดับมากส่วนด้านราคา ช่องทางการให้บริการ และการส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับปานกลาง
2. ค่าเฉลี่ยการบริการของโรงพยาบาลตามกรอบกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการ ตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการ จำแนกตามประเภทโรงพยาบาล ระหว่างโรงพยาบาลรัฐบาล และโรงพยาบาลเอกชนที่ดำเนินการในรูปบริษัท และโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นขององค์กรศาสนา มูลนิธิ พบว่าค่าเฉลี่ยโรงพยาบาลรัฐกับเอกชนที่เป็นขององค์กรศาสนาหรือมูลนิธิมีค่าเฉลี่ยด้านผลิตภัณฑ์บริการ การส่งเสริมการตลาด บุคลากร และโดยรวมแตกต่างกัน โรงพยาบาลของรัฐกับเอกชนที่ดำเนินการในรูปบริษัทมีค่าเฉลี่ยด้านผลิตภัณฑ์บริการ ราคา ลักษณะทางกายภาพ กระบวนการ และโดยรวมแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
3. ค่าเฉลี่ยการบริการของโรงพยาบาลตามกรอบกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการ จำแนกตามประเภทของโรงพยาบาลระหว่างโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (HA) กับโรงพยาบาลที่ยังไม่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Non HA) พบว่าโดยรวมไม่แตกต่างกัน ด้านราคา ช่องทางการให้บริการ และการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกันที่ระัดับนัยสำคัญ .05 ด้านการผลิดภัณฑ์บริการ บุคลากร ลักษณะทางกายภาพ และกระบวนการให้บริการไม่แตกต่างกัน |
Curricular : | BNS |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=23325 |