รายงานการวิจัียเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการเลิกเสพยาเสพติดของผู้ที่เคยผ่านการบำบัีดรักษา [printed text] /
สุนีรัตน์ บริพันธ์, Author ;
ศรีพรรณ สว่างวงศ์, Author . -
[S.l.] : โรงพยาบาลธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2544 . - 58 แผ่น : ตารางประกอบ ; 30 ซม.
ISSN : 978-974-774-019-2 : บริจาค.
Languages : Thai (
tha)
Descriptors: | [LCSH]พฤติกรรมการใช้สารเสพติดประเภทยาบ้า -- ไทย [LCSH]ยาบ้า -- การบำบัีด [LCSH]ยาบ้า -- การเสพติด
|
Keywords: | ยาบ้า.
การเสพติด.
การบำบัด.
การรักษา. |
Class number: | WM270 ส845 2544 |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาปัจจัย เงื่อนไขที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลิกยาเสพติดของผู้ที่เคยผ่านการบำบัดรักษา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แนวการสัมภาษณ์แบบกึ่งโคีรงสร้างลักษณะคำถามปลายเปิดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผู้ให้ข้อมูลถูกคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง โดยต้องเป็นผู้ที่เคยผ่านการบำบัดรักษาจากศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดจังหวัดเชียงใหม่ และไม่กลับไปเสพซ้ำเป็นเวลามากกว่า 1 ปีขึ้นไป มีภูมิลำเนาอยู่ใน 17 จังหวัดภาคเหนือจำนวน 10 ราย
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่น่าจะเป็นปัจจัยเบื้องต้นที่นำไปสู่การเลิกยาได้ในที่สุด คือ ความสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาจากสถานบำบัด โดยพบว่าแรงบันดาลใจที่สำคัญที่ทำให้ต้องการเลิกยา ได้แก่ ความรับผิดชอบและภาระหน้าที่ที่ต้องเลี้ยงดูครอบครัว เพราตระหนักในความรัก ความห่วงใยของพ่อแม่ ไม่อยากให้พ่อแม่เสียใจและเป็นทุกข์ ต้องการเอาชนะคำสบประมาทและการดูถูกดูแคลนจากผู้อื่น ต่อมาเมื่อผู้ติดยาได้รับการจำหน่ายจากสถานบำบัด หลังจากได้รับการบำบัดครบขั้นตอนแล้ว จะมีการหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงที่จะไม่กลับไปเสพซ้ำด้วยการตัดขาดจากสังคมเดิม ไม่คบเพื่อนกลุ่มเก่า การรู้จักปฏิเสธ บางรายพักงานอยู่กับบ้านเป็นปี หรือพักการเรียนระยะหนึ่ง แล้วจึงย้ายโรงเรียนใหม่ นอกจากนี้ความเชื่อมั่นว่ายาเสพติิดเป็นสิ่งที่สามารถเลิกได้ได้ใจเข็มแข็ง เป็นแรงจูงใจที่สำคัญที่ทำให้ผู้ติดยาเสพติดมีความมุ่งมั่นที่จะเลิกให้ได้ การรับรู้โทษและผลเสียของการติดยาเสพติด โดยเฉพาะการรัีบรู้ที่เป็นประสบการณ์ตรงจากการมีชีวิตเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ครอบครัวให้ความรัก ความใอลอุ่นมากขึ้น การมีสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น การเห็นคุณค่าของตนเองจากความรู้สึกว่าเป็นที่ต้องการของผู้อื่น และพึ่งพาได้ มีความรู้สึกนึิกคิดต่อตนเองในทางบวกตรงตามสภาพความเป็นจริง เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อ่ืื่อนและเมื่อมีปัญหาก็มีแหล่งใหคำปรึกษา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนในครอบครัว และเพื่อน ๆ ตลอดจนการได้รับโอกาสและการยอมรับจากชุมชน ทำให้ผู้เลิกยามีความพึงพอใจในตนเองในระดับหนึ่ง ช่วยลดความคับข้องใจและความเครียด ทำให้ผู้เลิกยามีความพึงพอใจในตนเองในระดับหนึ่ง ช่วยลดความคับข้องใจและความเครียด ทำให้ไม่ต้องหันกลับไปพึ่งพายาเสพติด
ผลการศึกษานี้เป็นประโยชน์สำหรับองค์กร และบุุคลากรทางด้านสาธารณสุข ในการนำไปกำหนดนโยบาย และประยุกต์ใช้ในด้านการปฏิบัติการพยาบาลเชิงรุก เพื่อให้ผู้บำบัดมีการรับรู้
|
Curricular : | BALA/BNS/GE |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=23303 |