รายงานการวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการลักลอบหนีออกจากโรงพยาบาลของผู้ป่วยติดสารเสพติดวัยรุ่นชาย : ในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ [printed text] /
สำเนา มากแบน, Author ;
สมบัติ มากัน, Author . -
[S.l.] : โรงพยาบาลธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2544 . - ก-ฉ, 64 แผ่น : ตารางประกอบ. ; 30 ซม.
ISSN : 978-974-774-022-2 : บริจาค.
Languages : Thai (
tha)
Descriptors: | [LCSH]การติดยาเสพติด -- แง่จิตวิทยา [LCSH]การติดยาเสพติด -- แง่สังคม [LCSH]ผู้ป่วย -- ยาเสพติด -- การบำบัด
|
Keywords: | การลักลอบ.
การหนี.
ผู้ติดยา. |
Class number: | WM270 ส825 2544 |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึุกษา ปัจจัยหรือเงื่อนไข และวิธีการลักลอบหนีออกจากโรงพยาบาลของผู้ป่วยติดสารเสพติดวันรุ่นชายในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ วิธีการศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้ป่วยติดสารเสพติดวัยุรุ่นชายที่เคยบำบัดรักษาในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ และถูกให้ออกจากโรงพยาบาล เนื่องจากฝ่าฝืนกฎระเบียบของโรงพยาบาลโดยการลักลอบหนีออกจากโรงพยาบาล จำนวน 10 คน ผลการศึกษามีดังนี้
เงื่อนไขในการลักลอบหนีออกจากโรงพยาบาล เพื่อต้องการไปนำบุหรี่/ยาเส้นเข้ามาในโรงพยาบาล ซึ่งนโยบายในการบำบัดรักษาผู้ป่วยติดสารเสพติดของโรงพยาบาลธัญญารักษ์นอกจากให้ผู้ป่วยสามารถเลิกเสพสารเสพติดได้แล้ว ยังต้องการให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ด้วย แต่ผู้ป่วยที่ติดสารเสพติดส่วนใหญ่จะติดบุหรีด้วย ซึ่งการสูบบุหรีส่วนมากมาจากความเคยชิน ทำให้ยากต่อการละเลิก เมื่อผู้ป่วยมีความต้องการอยากสูบบุหรีมากจนไม่สามารถทนต่ออาการนั้นได้ จึงตัดสินใจลักลอบหนีออกจากโรงพยาบาล และต้องได้รับการยอมรับจากเพื่อน
วิธีการลักลอบหนีออกจากโรงพยาบาล จะทำเป็นกระบวนการและเป็นจั้นตอน 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ เริ่มจากการหาผู้ที่จะทำการลักลอบหนีโดยเป็นผู้ที่มีความรู้สึกอยากสูบบุหรีมาก หรือผู้ที่เคยทำการลักลอบหนีออกได้สำเร็จ ผู้ทำหน้าที่รวบรวมสิ่งของอุปโภค บริโภค เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนเป็นยาเส้น ผู้ที่ทำการลักลอบจะเตรียมตัวโดยการเตรียมเสื้อผ้าสำหรับแลกเปลี่ยนและศึกษาเส้นทางที่จะลักลอบหนี มีการวางแผน เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่สงสัย
ขั้นที่ 2 เป็นขั้นดำเนินการ จะเลือกเวลาที่ปลอดภัยมากที่สุด เป็นเวลาที่เจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานน้อย ผู้ป่วยจะทำการลักลอบทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน โดยการปืนกำแพงโรงพยาบาลออกไปซื้อหรือแลกเปลี่ยนบุหรี/ยาเส้น ที่ร้านค้าบริเวณอพาร์ทเม้นต์หลังโรงพยาบาลและจะกลับเข้ามาในโรงพยาบาลในช่องทางเดียวกับช่องทางที่ออก
ขั้นที่ 3 เป็นขั้นการจำหน่าย เืมื่อได้บุหรี/ยาเส้นมาแล้วจะแจกจ่ายให้กับผู้ที่ฝากสิ่งของไปแลกและนำมาแบ่งปันกันสูบ มีบางคนจะจำหน่ายให่กับผู้ป่วยอื่นต่อในราคาที่สูง
แนวทางการแก้ไข โดยการปรับเปลี่ยนกฎของโรงพยาบาล พัฒนาพืั้นที่บริเวณโดยรอบโรงพยาบาล จัดให้มีป้อมยามพร้อมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยปฎิบัติหน้าที่บริเวณด้านหลังหอผู้ป่วยอย่างน้อย 1 จุด และปฎิบัติการพยาบาลผู้ป่วยด้วยความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจ สอดส่อง ระมัดระวังผู้ที่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการลักลอบหนีออกจากโรงพยาบาล |
Curricular : | BNS |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=23294 |