รูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ = Model of promoting behaviors to prevent unwanted pregnancy of secondary school (level III) students at Suksa Songkhor Ministry of Education : แก่นักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ กระทรวงศึกษาธิการ [printed text] /
สมพิศ ใยสุ่น, Author ;
ปรียารัตน์ รัตนวิบูลย์, Author . -
กรุงเทพฯ : วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย, 2554 . - ก-ค, 66 หน้า ; 30 ซม.
บริจาค.
Languages : Thai (
tha)
Descriptors: | [LCSH]การทำแท้ง -- ไทย --วิจัย [LCSH]ครรภ์ไม่พึงประสงค์ -- ไทย -- วิจัย [LCSH]เพศศึกษา -- ไทย -- วิจัย [LCSH]โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ -- วิจัย
|
Keywords: | การทำแท้ง.
การตั้งครรภ์.
นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3. |
Class number: | HQ767.5 ส866 2554 |
Abstract: | การวิจัยนี้ มุ่งศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ กระทรวงศึกษาธิการและรูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ กระทรวงศึกษาธิการ ที่เลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากการสุ่มรายชื่อโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ กระทรวงศึกษาธิการ ทั่วประเทศมา 4 โรงเรียน เป็นตัวแทนภาค 4 ของประเทศไทย แล้วสุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนที่เป็นตัวแทนทั้ง 4 ภาค จำนวน 374 คน ในการตอบคำถามปลายเปิดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แล้วนำมาวิเคราะห์และหาข้อมูลเพิ่มเติม โดยการสนทนากลุ่ม นักเรียนตัวอย่าง จำนวน 80 คน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปเชิงปริมาณของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณาภาพ ผลการวิจัยพบว่า จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 374 คน ส่วนใหญ่ จะมีอายุ 15 ปี คิดเป็นร้อยละ 48.93 โดยมีค่าเฉลี่ยของอายุ คือ 14.71 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 67.91 สถานภาพของบิดา มารดา คือ สมรส คิดเป็นร้อยละ 54.86 และอาศัยอยู่กับพ่อแม่ คิดเป็นร้อยละ 54.06
สภาพปัญหาในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ คือ 1. ด้านครอบครัว พ่อ/เม่ พบว่า ขาดความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษาโดยตรงจากครอบครัว แต่เป็นคำสั่งสอนมุ่งมั่นให้ตั้งใจเรียนเพื่ออนาคตที่ดี พ่อแม่ให้การอบรมสั่งสอนมิให้มีพฤติกรรมทางลบ ขาดการเอาใจใส่ และการสื่อสารที่เหมาะสมจากครอบครัว 2. ด้านโรงเรียน ครู อาจารย์ พบว่า มีการเรียน การสอนเพศศึกษาตามหลักสูตร แต่ยัีงขาดวิธีการที่เน้นให้ผู็เรียนนำไปประยุกต์ใช้ได้ ขาดสื่อต่าง ๆ ที่เหมาะสม เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสอนเรื่องเพศศึกษา รวมทั้งท่าที และทัศนคติดที่เหมาะสมของครูผู้สอน การดูแลป้องกันการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศยังไม่ทั่วถึง 3. เพื่อน พบว่า ทำตามเพื่อนหรือเพื่อนชักจูงให้มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม การแข่งขันและการอวดกัน 4. ตัววัยรุ่นเอง พบว่า มีความรู้เรื่องเพศศึกษาที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกต้อง มีเจตคติทางเพศและพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ถูกต้อง 5. สภาพแวดล้อม พบว่า สื่อต่าง ๆ สถานที่เริงรมย์นำไปสู่การเข้าถึงเรื่องทางเพศได้ง่าย และการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมของผู้หญิง |
Curricular : | BNS |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=23280 |