ประสบการณ์การปฎิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพภายใต้สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ = Working experiences of professional nurses under violent situation in southern border province [printed text] /
สุรัสวดี ไมตรีกุล, Author . -
กรุงเทพฯ : คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 . - ก-ญ, 180 แผ่น : ตารางประกอบ ; 30 ซม.
บริจาค.
วิทยานิพนธ์ [พย.ม.[การบริหารการพยาบาล]] --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2550
Languages : Thai (
tha)
Descriptors: | [LCSH]พยาบาล -- การทำงาน [LCSH]พยาบาลวิชาชีพ
|
Keywords: | พยาบาลวิชาชีพ.
การทำงาน.
จังหวัดชายแดนภาคใต้. |
Class number: | WY100 ส848 2550 |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฎการณ์วิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจบริบทและประสบการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพภายใต้สถานการณ์รุนแรงในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ศึกษาในโรงพยาบาลศูนย์ยะลาซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ให้ข้อมูล เป็นพยาบาลวิชาชีพที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงมีประสบการณ์การปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์ยะลา 2 ปี ขึ้นไป จำนวน 16 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษามีดังนี้ ภายใต้สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ทำให้พยาบาลวิชาชีพมองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปรากฎการณ์นี้ว่าเปรียบเสมือนอยู่ในภาวะสงคราม บรรยากาศการอยู่ร่วมกันของผู้คนเป็นไปอย่างไร้ความสุขและเต็มไปด้วยความสับสนโดยเฉพาะการใช้ชีวิตประจำวันอยู่ในความหวาดกลัวรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและต้องระมัดระวังตัวตลอดเวลา ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมีแต่ปัญหาการบาดเจ็บและล้มตายของคนรอบตัวจากการถูกระเบิด ดังนั้นการปฏิบัติงานของพยาบาลจึงเครียดมากขึ้นเพราะการที่พยาบาลต้องปฏิบัติงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยกับชีวิตทำให้รู้สึกเครียดทั้งงานและเครียดกับความปลอดภัยในชีวิต ซึ่งพยาบาลต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของตนเองเพื่อให้สามารถทำงานได้ต่อไปรวมทั้งต้องหาวิธีการจัดการกับความเครียด ซึ่งส่วนใหญ่ใช้วิธีการหันเหความสนใจและปรับตัวโดยการยึดศาสนาเป็นที่พึ่งทางจิตใจ สำหรับการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยแบ่งเป็นการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ปกติ ด้านการให้บริการพยาบาล ด้านการบริหาร และด้านวิชาการที่ต้องปฏิบัติคงเดิม ส่วนบทบาทหน้าที่ใหม่ที่เพิ่มขึ้นคือการปฏิบัติการช่วยเหลือในอุบัติภัยหมู่ คำแนะนำด้านสุขภาพที่ต้องมุ่งเน้นการให้คำแนะนำในการมาโรงพยาบาลอย่างปลอดภัย สำหรับการปฏิบัติงานที่ลดน้อยลงคือการบริการส่งเสริมสุขภาพ งานฟื้นฟูสุขภาพทำได้ยากขึ้นและการเยี่ยมบ้านต้องหยุดชะงักลง งานบริการการส่งต่อผู้ป่วยที่รูปแบบการบริการเปลี่ยนไปโดยเฉพาะงานรับผู้ป่วยที่จุดเกิดเหตุดำเนินการน้อยลงเนื่องจากเกรงความไม่ปลอดภัย สำหรับเหตุผลที่ทำให้พยาบาลสามารถคงอยู่ปฏิบัติงานท่ามกลางความไม่ปลอดภัยคือ 1) ได้รับขวัญกำลังใจจากหน่วยราชการ 2) ความรักและความผูกพันที่มีต่อถิ่นเกิด 3) รู้สึกภาคภูมิใจในวิชาชีพพยาบาลที่สามารถเป็นที่พึ่งให้กับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ผลการศึกษาที่ได้แม้พยาบาลวิชาชีพจะยังคงปฏิบัติงานท่ามกลางความไม่ปลอดภัยต่อไปได้แต่ผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขและผู้บริหารทางการพยาบาลควรมีการกำหนดนโยบายเชิงรุกเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพยาบาลในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และต้องหาวิธีการต่างๆในการสนับสนุนและส่งเสริมขวัญและกำลังใจตลอดจนหามาตรการสร้างความปลอดภัยในชีวิตพยาบาลด้วย |
Curricular : | BNS |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=23215 |