ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุหล็กในหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ = Iron deficiency anemia among complete attending and pregnant woman a qualitative study : กรณีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ [printed text] /
นฤมล ทองวัฒน์, Author . -
[S.l.] : บัณฑิตวิทยาลัีย มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2552 . - 121 แผ่น : ตาราง. ; 30 ซม.
บริจาค.
วิทยานิพนธ์ [พย. ม [การพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน]] -- มหาวิทยาลัยนเรศวร 2552
Languages : Thai (
tha)
Descriptors: | [LCSH]เลือดจาง -- การพยาบาล [LCSH]เลือดจาง -- การรักษา [LCSH]เลือดจางในสตรีมีครรภ์
|
Keywords: | โลหิตจาง.
การตั้งครรภ์.
การวิจัยเชิงคุณภาพ. |
Class number: | WH155 น506 2552 |
Abstract: | ศึกษาความหมายภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ พฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงที่ตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ครบกำหนดตามเกณฑ์ จำนวน 14 ราย โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน - พฤศจิกายน 2551 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมบางส่วน การจดบันทึกภาคสนาม และจากแฟ้มประวัติผู้รับบริการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการของโคซี่
ผลการศึกษาพบว่า หญิงตั้งครรภ์ให้ความหมายของภาวะโลหิตจางจากการขดาธาตุเหล็กว่า เป็นโรคเลือดจาง ซีด และเป็นโรคที่รักษาไม่หาย เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ซึ่งหญิงตั้งคครภ์รับรู้ภาวะโลหิตจางของตนเองได้ 3 ลักษณะ คือ รับรู้การเป็นโรคจากแพทย์ และจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในร่างกาย รับรู้จากเคยตรวจพบเป็นโลหิตจางมาก่อนตั้งคครภ์และมีมารดาเป็นโลหิตจาง และรับรู้ความรุนแรงว่าเป็นอันตรายทำให้ทารกในครรภ์ไม่แข็งแรงจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเพื่อนบ้าน ส่วนความรู้สึกต่อการเป็นโรคโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์พบว่า กังวลและกลัวอันตรายต่อตนเอง และทารกในครรภ์ รู้สึกเสียใจที่ไม่ได้ปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล และมีความรู้สึกว่าเป็นการเพิ่มภาระให้กับตนเองและครอบครัวในการต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อบำรุงร่างกายให้ดีขึ้น สำหรัลพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์พบว่า มีการเลือกบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสม ได้แก่ ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ไข่ ตับ เลือกเวลาดื่มนมไม่เหมาะสม รับประทานผลไม้ที่มีรสหวานมากกว่ารสเปรี้ยว และรับประทานผักในแต่ละมื้อมากเกินไป รวมทั้งรับประทานยาเม็ดธาตุเหล็กไม่ถูกต้อง ได้แก่ ไม่ได้ทานตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งครรภ์ และไม่ได้ทานอย่างสม่ำเสมอ และปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง คือ มีพฤติกรรมการบริฏฃโภคที่ไม่เหมาะสม ไม่ได้เตรียมพร้อมตั้งครรภ์ ขาดการแสวงหาความรู้เพื่อดูแลตนเอง ไม่กล้าซักถามเรื่องที่ตนเองสงสัยกับแพทย์ พยาบาล รวมถึงมีความไม่สะดวกในการหาซื้อมารับประทาน จึงทำให้เกิดภาวะโลหิตจางแม้ว่าจะมาฝากครรภ์ครบตามกำหนด |
Curricular : | BNS |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=23202 |