สัมพันธภาพเชิงช่วยเหลือนักศึกษาพยาบาลของอาจารย์พยาบาลในการฝึกภาคปฎิบัติ = Helping relationship to nursing students of instructors in clinical practice [printed text] /
วิจิตรา พูลเพิ่ม, Author . -
กรุงเทพฯ : คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 . - ง-ซ, 104 แผ่น : ตาราง ; 30 ซม.
ISSN : 978-974-172-610-4 : บริจาค.
วิทยานิพนธ์ [พย.ม. [การพยาบาลศึกษา]] -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2545
Languages : Thai (
tha)
Descriptors: | [LCSH]Education, Nursing. [LCSH]Nursing -- Study and teaching. [LCSH]Schools, Nursing. [LCSH]การเรียนรู้ -- นักศึกษาพยาบาล [LCSH]นักศึกษาพยาบาล -- การศึกษาและการสอน [LCSH]พฤติกรรมการช่วยเหลือ
|
Keywords: | การศึกษา.
การสอน.
นักศึกษาพยาบาล.
การดูแล. |
Class number: | WY20 ว724 2545 |
Abstract: | การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประเสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์สัมพันธภาพเชิงช่วยเหลือนักศึกษาพยาบาลของอาจารย์พยาบาลในการฝึกภาคปฎิบัิติทางคลินิก ผู้ให้ข้อมูลเป็นอาจารย์พยาบาล ที่ปฎิบัติงานในวิทยาลัยพยาบาลขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือ ที่มีประสบการณ์การสอนและนิเทศนักศึกษาบนคลินิก 1 ปี ขึ้นไป จำนวน 18 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการบันทึกเทป วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการตีควา่มเป็นหลัก
ผลการศึกษาพบว่า สัมพันธภาพเชิงช่วยเหลือนักศึกษาของอาจารย์พยาบาล แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย การสร้างสัมพันธภาพเชิงช่วยเหลือนักศึกษาของอาจารย์ และพฤติกรรมเชิงช่วยเหลือของอาจารย์ที่มีต่อนักศึกษา โดยขั้นตอนแรกจะเริ่มในการปฐมนิเทศก่อนขึ้นฝึกปฏิบัิติโดยอาจารย์จะแสดงออกอย่างเปิดเผยและจริงใจว่ามีความเข้าใจความรู้สึกของนักศึกษา และตระหนักถึงความแตกต่างของนักศึกษาในการฝึกปฎิบัิติ โดยใช้วิธีการพูดคุยสร้างความคุ้นเคยให้นักศึกษาไว้วางใจ เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกันเป็นเบื้องต้น และเมื่อขึ้นฝึกปฎิบัติพฤติกรรมเชิงช่วยเหลือของอาจารย์ของอาจารย์ที่มีต่อนักศึกษาจึงจะตามมาโดยอาจารย์แสดงออกพฤติกรรมในลักษณะ ให้โอกาสฝึกปฎิบัิติ ช่วยกระตุ้นให้คิดและฝึกให้กล้าปฎิบัิติอธิบายเชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฎิบัิติ ช่วยเหลือชี้แนะและแก้ไขการฝึกปฎิบัิติการพยาบาลให้กำลังใจที่อบอุ่นสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการฝึกปฎิบัติ และประสานความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักศึกษากับพยาบาลประจำการความสัมพันธ์เชิงช่วยเหลือดังกล่าว อาจารย์ใช้สื่อการสื่อสารแบบสองทางเป็นแกนกลางในการสื่อความหมายเพื่อให้เกิดความเข้าใจและให้่ความช่วยเหลือได้สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาแต่ละคน นอกจากนั้นยังพบว่า สัมพันธภาพที่ดีระหว่างอาจารย์กับพยาบาลประจำการจะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษาประสบความสำเร็จในการฝึกปฎิบัิติ ซึ่งไม่เฉพาะนักศึกษาที่กำลังฝึกปฎิบัติเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีในนักศึกษาที่จะฝึกปฎิบัิติกลุ่มต่อไปด้วย
อย่างไรก็ตามแม้อาจารย์จะยอมรับและให้ความสำคัญกับการสื่อสารแบบสองทาง แต่ในทางปฎิบัิตกลับพบว่า อาจารย์ยังคงเป็นผู้มีอำนาจหรือมีอิทธิพลในการตัดสินใจมากกว่านักศึกษา เพราะลักษณะวิชาชีพพยาบาลเป็นการดูแลเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ ต้องใช้ความรู้ความสามารถทั้งศาสตร์และศิลป์ในการปฎิบัิติ ซึ่งนักศึกษาเป็นเพียงผู้เริ่มฝึกหัดให้การพยาบาลเท่านั้น จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลกำกับและให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้การตัดสินใจให้การพยาบาลนั้นถูกต้องและปลอดภัย และผู้ทำหน้าที่นี้่ได้อย่างเหมาะสมคือ อาจารย์พยาบาล.
|
Curricular : | BNS |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=23181 |