การศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการใช้บริการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า = A Study on medical care impediments in universal coverage health insurance : a case study of Maharaj Ratchasima Hospital Nakorn Ratchasima province : กรณีศึกษาโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา [printed text] /
แสงอรุณ ถิระเรืองรัตน์, Author . -
กรุงเทพ ฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2548 . - ก-ญ, 170 แผ่น : ตาราง ; 30 ซม.
ISSN : 978-974-046-754-7
เนื้อหามีสองภาษา ฉบับภาษาไทย BARCODE No.32002000308997 ฉบับภาษาอังกฤษ BARCODE No.32002000309011
วิทยานิพนธ์ [ศศ.ม. [วัฒนธรรมศึกษา]] - มหาวิทยาลัยมหิดล 2548.
Languages : Thai (
tha)
Descriptors: | [LCSH]Health care -- Thailand [LCSH]Health insurance [LCSH]Medical care -- Thailand [LCSH]สิทธิบัตรทอง [LCSH]สิทธิผู้ป่วย [LCSH]หลักประกันสุขภาพ [LCSH]โรงพยาบาล -- การบริการ [LCSH]โรงพยายาลมหานครราชสีมา -- กรณีศึกษา
|
Keywords: | หลักประกันสุขภาพ.
็Health care
Health insurance. |
Class number: | W115.H4 ส882 2548 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความรู้ของผู้รับบริการเกี่ยวกับสิทธิด้านการรักษาพยาบาลตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ความคิดเห็นของผู้รับบริการที่ได้รับ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคจากการรับบริการตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กับกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ที่มารับบริการที่แผนกตรวจโรคผู้ป่วยจาก 10 แผนกของโรงพยาบาลมหานครราชสีมา จังหวัีดนครราชสีมา โดยใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระหว่างวันที่ 1-31 ตุลาคม 2547 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-way ANOVA ประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิด้านการรักษาพยาบาลตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่ในระดับน้อย ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับสิทธิด้านการรักษาพยาบาล ได้แก่ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ 2. ความคิดเห็นของผู้รับบริการที่ได้รับอยู่ในระดับดี ร้อยละ 42.0 ส่วนที่เหลืออีก ร้อยละ0.3 มีความคิดเห็นว่าโรงพยาบาลควรปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ และ 3. ปัญหาอุปสรรคในการมารับบริการ มีผู้มารับบริการไม่ถึงร้อยละ 20 ทีพบปัญหา ซึ่งปัญหาที่พบเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ประชาชนที่มารับบริการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิด้านการรักษาพยาบาลตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปัญหาเกี่ยวกับบริการที่ได้รับจากห้องบัตรที่ต้องรอนานเกินไป เจ้าหน้าที่พูดจาไม่ชัดเจน ไม่สุภาพ และปัญหาเกี่ยวกับบริการได้รับจากพยาบาลผู้ให้บริการที่พยาบาลบางคนพูดจาไม่สุภาพ ไม่เป็นมิตรกับผู้ป่วย พยาบาลขาดการกระตือรือร้น งานวิจัยได้เสนอแนะว่า ควรจัดให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิผู้ป่วยตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นผู้บริหารรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องศึกษาสาเหตุที่แท้จริงเกี่ยวกับคุณภาพของบริการ เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป
|
Curricular : | BNS |
Record link: | http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=23167 |