From this page you can:
Home |
Class number details
WY100 อ948 2546
Library items with class number WY100 อ948 2546
Add the result to your basket Make a suggestion Refine your search Apply to external sourcesการปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน / อุษนันท์ อินทมาศน์, / กรุงเทพฯ : คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - 2546
Title : การปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน Original title : Role performance of professional nurse in community hospital Material Type: printed text Authors: อุษนันท์ อินทมาศน์, (2518-), Author Publisher: กรุงเทพฯ : คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Publication Date: 2546 Pagination: ก-ฌ, 117 แผ่น Layout: ตาราง Size: 30 ซม. ISBN (or other code): 978-974-175-780-3 Price: บริจาค. General note: วิทยานิพนธ์ [พย.ม.[การบริหารการพยาบาล]].--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2546 Languages : English (eng) Descriptors: [LCSH]บทบาทที่คาดหวัง
[LCSH]พยาบาลวิชาชีพ
[LCSH]วิชาชีพพยาบาล
[LCSH]โรงพยาบาลชุมชนKeywords: พยาบาลวิชาชีพ.
โรงพยาบาลชุมชน.
บทบาท.
หน้าที่.Class number: WY100 อ948 2546 Abstract: การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ และศึกษาเงื่อนไขหรือปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน โดยศึกษาในโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง ในเขตภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 1 แห่ง ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Indepth interview) จากพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงาน 3 ปี ขึ้นไป จำนวน 16 คน แล้ววิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลที่ได้ ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนมีการปฏิบัติบทบาทด้านการบริการสุขภาพประกอบด้วยบทบาทด้านการปฏิบัติการพยาบาล บทบาทด้านการบริหารจัดการ และบทบาทด้านวิชาการ ซึ่ง พยาบาลวิชาชีพมีการปฏิบัติหน้าที่เกินขอบเขตในเรื่องการรักษาโรค โดยพยาบาลวิชาชีพได้ให้บริการรักษานอกเวลาราชการแก่ผู้รับบริการที่เจ็บป่วยเล็กน้อยถึงรุนแรง การปฏิบัติบทบาทเกินขอบเขตทำให้พยาบาลวิชาชีพมีความคับข้องใจและไม่มั่นใจในการทำงานพยาบาลวิชาชีพรับรู้บทบาทหน้าที่ของตนและต้องการให้งานการพยาบาลเป็นไปตามขอบเขตที่กำหนด แต่ด้วยความจำเป็นด้านบุคลากร ทำให้พยาบาลวิชาชีพต้องปฏิบัติหน้าที่ด้านการรักษาต่อไป ในการปฏิบัติบทบาทด้านการบริหารงานพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีบทบาทเป็นผู้นำในการบริหารงาน มีส่วนร่วมหรือเป็นผู้ประสานงานด้านการบริหาร และการบริหารงานในโครงการเฉพาะกิจ ภาระงานที่มีปริมาณมากเกินขีดความสามารถ ประกอบกับเวลาที่จำกัดทำให้พยาบาลวิชาชีพรู้สึกไม่มีเวลาในการพักผ่อน อีกทั้งการได้รับมอบหมายงานที่ไม่มีความสนใจ ทำให้ไม่มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน การทำงานไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และขาดประสิทธิภาพ อนึ่งภาระงานที่เหมาะสมจะเป็นการท้าทายความสามารถและก่อให้เกิดการพัฒนาความสามารถได้ ทางด้านการปฏิบัติบทบาทด้านวิชาการพบว่า พยาบาลวิชาชีพรับรู้ว่าตนปฏิบัติบทบาทด้านวิชาการแก่ผู้รับบริการอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการให้ความรู้เป็นรายบุคคลแก่ผู้รับบริการในแผนกที่ตนปฏิบัติงานอยู่ แต่การปฏิบัติบทบาทด้านวิชาการในหน่วยงานมีน้อย เนื่องจากนโยบายด้านวิชาการของหน่วยงานไม่ชัดเจน ขาดการสนับสนุนให้มีการพัฒนาตนเอง ซึ่งพยาบาลวิชาชีพมีความต้องการพัฒนาตนเองอยู่เสมอและพยายามที่จะแสวงหาโอกาสการพัฒนาด้วยตนเอง แม้ว่าพยาบาลวิชาชีพจะมีความคับข้องใจที่ต้องปฏิบัติบทบาทเกินขอบเขตหน้าที่ แต่ก็จำเป็นต้องปฏิบัติ โดยมีมุมมองในเชิงบวกว่าเป็นเพราะหน่วยงานขาดแคลนบุคลากร อีกทั้งต้องการให้หน่วยงานเป็นที่ยอมรับของผู้รับบริการ พยาบาลวิชาชีพต้องการพัฒนาศักยภาพของตน เกี่ยวกับความรู้และทักษะด้านเวชปฏิบัติเพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงานด้านการรักษา นอกจากนี้ได้เสนอแนะว่าการปฏิบัติงานด้านการรักษาโรค ควรมีการมอบหมายงานและกำหนดขอบเขตเป็นลายลักษณ์อักษร มีการควบคุมดูแลโดยแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=23174 การปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน = Role performance of professional nurse in community hospital [printed text] / อุษนันท์ อินทมาศน์, (2518-), Author . - กรุงเทพฯ : คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 . - ก-ฌ, 117 แผ่น : ตาราง ; 30 ซม.
ISSN : 978-974-175-780-3 : บริจาค.
วิทยานิพนธ์ [พย.ม.[การบริหารการพยาบาล]].--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2546
Languages : English (eng)
Descriptors: [LCSH]บทบาทที่คาดหวัง
[LCSH]พยาบาลวิชาชีพ
[LCSH]วิชาชีพพยาบาล
[LCSH]โรงพยาบาลชุมชนKeywords: พยาบาลวิชาชีพ.
โรงพยาบาลชุมชน.
บทบาท.
หน้าที่.Class number: WY100 อ948 2546 Abstract: การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ และศึกษาเงื่อนไขหรือปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน โดยศึกษาในโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง ในเขตภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 1 แห่ง ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Indepth interview) จากพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงาน 3 ปี ขึ้นไป จำนวน 16 คน แล้ววิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลที่ได้ ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนมีการปฏิบัติบทบาทด้านการบริการสุขภาพประกอบด้วยบทบาทด้านการปฏิบัติการพยาบาล บทบาทด้านการบริหารจัดการ และบทบาทด้านวิชาการ ซึ่ง พยาบาลวิชาชีพมีการปฏิบัติหน้าที่เกินขอบเขตในเรื่องการรักษาโรค โดยพยาบาลวิชาชีพได้ให้บริการรักษานอกเวลาราชการแก่ผู้รับบริการที่เจ็บป่วยเล็กน้อยถึงรุนแรง การปฏิบัติบทบาทเกินขอบเขตทำให้พยาบาลวิชาชีพมีความคับข้องใจและไม่มั่นใจในการทำงานพยาบาลวิชาชีพรับรู้บทบาทหน้าที่ของตนและต้องการให้งานการพยาบาลเป็นไปตามขอบเขตที่กำหนด แต่ด้วยความจำเป็นด้านบุคลากร ทำให้พยาบาลวิชาชีพต้องปฏิบัติหน้าที่ด้านการรักษาต่อไป ในการปฏิบัติบทบาทด้านการบริหารงานพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีบทบาทเป็นผู้นำในการบริหารงาน มีส่วนร่วมหรือเป็นผู้ประสานงานด้านการบริหาร และการบริหารงานในโครงการเฉพาะกิจ ภาระงานที่มีปริมาณมากเกินขีดความสามารถ ประกอบกับเวลาที่จำกัดทำให้พยาบาลวิชาชีพรู้สึกไม่มีเวลาในการพักผ่อน อีกทั้งการได้รับมอบหมายงานที่ไม่มีความสนใจ ทำให้ไม่มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน การทำงานไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และขาดประสิทธิภาพ อนึ่งภาระงานที่เหมาะสมจะเป็นการท้าทายความสามารถและก่อให้เกิดการพัฒนาความสามารถได้ ทางด้านการปฏิบัติบทบาทด้านวิชาการพบว่า พยาบาลวิชาชีพรับรู้ว่าตนปฏิบัติบทบาทด้านวิชาการแก่ผู้รับบริการอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการให้ความรู้เป็นรายบุคคลแก่ผู้รับบริการในแผนกที่ตนปฏิบัติงานอยู่ แต่การปฏิบัติบทบาทด้านวิชาการในหน่วยงานมีน้อย เนื่องจากนโยบายด้านวิชาการของหน่วยงานไม่ชัดเจน ขาดการสนับสนุนให้มีการพัฒนาตนเอง ซึ่งพยาบาลวิชาชีพมีความต้องการพัฒนาตนเองอยู่เสมอและพยายามที่จะแสวงหาโอกาสการพัฒนาด้วยตนเอง แม้ว่าพยาบาลวิชาชีพจะมีความคับข้องใจที่ต้องปฏิบัติบทบาทเกินขอบเขตหน้าที่ แต่ก็จำเป็นต้องปฏิบัติ โดยมีมุมมองในเชิงบวกว่าเป็นเพราะหน่วยงานขาดแคลนบุคลากร อีกทั้งต้องการให้หน่วยงานเป็นที่ยอมรับของผู้รับบริการ พยาบาลวิชาชีพต้องการพัฒนาศักยภาพของตน เกี่ยวกับความรู้และทักษะด้านเวชปฏิบัติเพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงานด้านการรักษา นอกจากนี้ได้เสนอแนะว่าการปฏิบัติงานด้านการรักษาโรค ควรมีการมอบหมายงานและกำหนดขอบเขตเป็นลายลักษณ์อักษร มีการควบคุมดูแลโดยแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=23174 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000355493 WY100 อ948 2546 Thesis Main Library Thesis Corner Available