From this page you can:
Home |
Search results
1 result(s) search for keyword(s) 'การค้าประเวณี, กองบังคับการตำรวจนครบาล 9, กองบัญชาการตำรวจนครบาล, ปัญหาค้าประเวณี, ยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี'
Add the result to your basket Refine your search Apply to external sources Make a suggestion
SIU THE-T. ยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี กองบังคับการตำรวจนครบาล 9 กองบัญชาการตำรวจนครบาล / รัฐกฤษฏ์ ใยไหม / กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร - 2020
Collection Title: SIU THE-T Title : ยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี กองบังคับการตำรวจนครบาล 9 กองบัญชาการตำรวจนครบาล Original title : Strategies to Overcome the Prostitution Problems of Metropolitan Police Division 9 Metropolitan Police Bureau Material Type: printed text Authors: รัฐกฤษฏ์ ใยไหม, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name Publisher: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร Publication Date: 2020 Pagination: xii, 212 น. Layout: ตาราง, ภาพประกอบ Size: 30 ซม. Price: 500.00 บาท General note: SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-06
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020Languages : Thai (tha) Descriptors: [LCSH]การค้าประเวณี
[LCSH]ยุทธศาสตร์Keywords: การค้าประเวณี,
กองบังคับการตำรวจนครบาล 9,
กองบัญชาการตำรวจนครบาล,
ปัญหาค้าประเวณี,
ยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณีAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี และ 3) เพื่อทราบปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี ซึ่งใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (mixed methods research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 ท่าน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ที่ผู้วิจัยคัดเลือกจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ มีความชำนาญ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการค้าประเวณี และประชากรในเชิงปริมาณ จำนวน 1,563 คน โดยการคำนวณประชากรกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของยามาเน่ และหาสัดส่วนอีกครั้ง ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณเส้นตรง (Multiple Regression Analysis) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) วิเคราะห์ตัวแปรอิสระ ตัวแปรทำนายเข้าโดยใช้สถิติถดถอยเชิงพหุคูณแบบ Enter (Enter Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณีมี 3 ปัจจัย ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านทรัพยากรของนโยบาย ด้านการสื่อสารองค์การ และด้านคุณลักษณะขององค์การ ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี พบว่า ด้านเงื่อนไขทางเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเท่ากันทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านเงื่อนไขทางการเมือง และ ด้านเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ส่วนการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการป้องกัน ด้านดำเนินคดี ด้านพัฒนากลไกเชิงนโยบาย ตามลำดับ ด้านคุ้มครองช่วยเหลือ และด้านพัฒนาความร่วมมือภาคีเครือข่ายมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
การทดสอบสมมติฐาน ผู้วิจัยนำตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรทำนายเข้าทั้งหมด เพื่อดูว่ามีตัวแปรใดสามารถร่วมทำนายตัวแปรตามได้ โดยใช้สถิติถดถอยเชิงพหุคูณแบบ Enter (Enter Multiple Regression Analysis) ซึ่งผลจากการวิเคราะห์พบว่า มีตัวแปรอิสระของปัจจัยภายใน 4 ตัวแปร ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี คือ ด้านมาตรฐานของนโยบาย ด้านทรัพยากรของนโยบาย ด้านการสื่อสารองค์กร และด้านความร่วมมือของผู้ปฏิบัติ โดยตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัวแปร สามารถร่วมกันทำนายการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อำนาจทำนายประมาณร้อยละ 31.10 (Adjusted R Square = 0.311) ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี คือ ด้านเงื่อนไขทางการเมือง ด้านเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และด้านเงื่อนไขทางเทคโนโลยีโดยตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปรดังกล่าว สามารถร่วมกันทำนายการปฏิบัติยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อำนาจทำนายประมาณร้อยละ 37.10 (Adjusted R Square = 0.371) นอกจากนี้นำตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรทำนายเข้าทั้งหมดเพื่อดูว่าตัวแปรใดที่สามารถร่วมทำนายตัวแปรตามได้ โดยใช้สถิติถดถอยเชิงพหุคูณแบบ Enter (Enter Multiple Regression Analysis) ซึ่งผลจากการวิเคราะห์พบว่า มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี ในภาพรวมทั้ง 2 ตัวแปร คือ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยแฝงที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี ซึ่งตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวแปรนั้น สามารถร่วมกันทำนายด้านการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณีได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อำนาจทำนายประมาณร้อยละ 44.30 (Adjusted R Square = 0.443)Curricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28044 SIU THE-T. ยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี กองบังคับการตำรวจนครบาล 9 กองบัญชาการตำรวจนครบาล = Strategies to Overcome the Prostitution Problems of Metropolitan Police Division 9 Metropolitan Police Bureau [printed text] / รัฐกฤษฏ์ ใยไหม, Author ; อติพร เกิดเรือง, Associated Name ; ไชยวัฒน์ ค้ำชู, Associated Name . - [S.l.] : กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020 . - xii, 212 น. : ตาราง, ภาพประกอบ ; 30 ซม.
500.00 บาท
SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-06
Thesis. [DPA [รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.ปร.ด]] มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2020
Languages : Thai (tha)
Descriptors: [LCSH]การค้าประเวณี
[LCSH]ยุทธศาสตร์Keywords: การค้าประเวณี,
กองบังคับการตำรวจนครบาล 9,
กองบัญชาการตำรวจนครบาล,
ปัญหาค้าประเวณี,
ยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณีAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี และ 3) เพื่อทราบปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี ซึ่งใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (mixed methods research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 ท่าน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ที่ผู้วิจัยคัดเลือกจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ มีความชำนาญ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการค้าประเวณี และประชากรในเชิงปริมาณ จำนวน 1,563 คน โดยการคำนวณประชากรกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของยามาเน่ และหาสัดส่วนอีกครั้ง ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณเส้นตรง (Multiple Regression Analysis) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) วิเคราะห์ตัวแปรอิสระ ตัวแปรทำนายเข้าโดยใช้สถิติถดถอยเชิงพหุคูณแบบ Enter (Enter Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณีมี 3 ปัจจัย ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านทรัพยากรของนโยบาย ด้านการสื่อสารองค์การ และด้านคุณลักษณะขององค์การ ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี พบว่า ด้านเงื่อนไขทางเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเท่ากันทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านเงื่อนไขทางการเมือง และ ด้านเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ส่วนการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการป้องกัน ด้านดำเนินคดี ด้านพัฒนากลไกเชิงนโยบาย ตามลำดับ ด้านคุ้มครองช่วยเหลือ และด้านพัฒนาความร่วมมือภาคีเครือข่ายมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
การทดสอบสมมติฐาน ผู้วิจัยนำตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรทำนายเข้าทั้งหมด เพื่อดูว่ามีตัวแปรใดสามารถร่วมทำนายตัวแปรตามได้ โดยใช้สถิติถดถอยเชิงพหุคูณแบบ Enter (Enter Multiple Regression Analysis) ซึ่งผลจากการวิเคราะห์พบว่า มีตัวแปรอิสระของปัจจัยภายใน 4 ตัวแปร ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี คือ ด้านมาตรฐานของนโยบาย ด้านทรัพยากรของนโยบาย ด้านการสื่อสารองค์กร และด้านความร่วมมือของผู้ปฏิบัติ โดยตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัวแปร สามารถร่วมกันทำนายการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อำนาจทำนายประมาณร้อยละ 31.10 (Adjusted R Square = 0.311) ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี คือ ด้านเงื่อนไขทางการเมือง ด้านเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และด้านเงื่อนไขทางเทคโนโลยีโดยตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปรดังกล่าว สามารถร่วมกันทำนายการปฏิบัติยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อำนาจทำนายประมาณร้อยละ 37.10 (Adjusted R Square = 0.371) นอกจากนี้นำตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรทำนายเข้าทั้งหมดเพื่อดูว่าตัวแปรใดที่สามารถร่วมทำนายตัวแปรตามได้ โดยใช้สถิติถดถอยเชิงพหุคูณแบบ Enter (Enter Multiple Regression Analysis) ซึ่งผลจากการวิเคราะห์พบว่า มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี ในภาพรวมทั้ง 2 ตัวแปร คือ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยแฝงที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณี ซึ่งตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวแปรนั้น สามารถร่วมกันทำนายด้านการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การเอาชนะปัญหาการค้าประเวณีได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อำนาจทำนายประมาณร้อยละ 44.30 (Adjusted R Square = 0.443)Curricular : GE Record link: http://libsearch.siu.ac.th/siu/opac_css/index.php?lvl=notice_display&id=28044 Hold
Place a hold on this item
Copies
Barcode Call number Media type Location Section Status 32002000607386 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-06 c.1 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available 32002000607387 SIU THE-T: IPAG-DPA-2020-06 c.2 SIU Thesis and Dissertation Main Library Thesis Corner Available